toxico

หน้าที่รับผิดชอบ   

  1. ศึกษา ค้นคว้า วิจัยและพัฒนาเทคนิคการตรวจ วินิจฉัยและชันสูตรโรคสัตว์ด้านพิษวิทยาและชีวเคมี เพื่อให้มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐานสากล
  2. ศึกษา ค้นคว้า วิจัย วิเคราะห์ และประเมินความ เสี่ยงจากการตกค้างของสารพิษในสัตว์ ผลิตภัณฑ์สัตว์ และสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพสัตว์และผู้บริโภค
  3. ศึกษา ค้นคว้า วิจัย สาเหตุที่ทําให้เกิดโรคระดับ โมเลกุล
  4. ศึกษา ค้นคว้า วิจัย เพื่อผลิตชุดทดสอบต้นแบบทางพิษวิทยาและชีวเคมี
  5. การประเมินความเสี่ยงจากสารพิษและสารตกค้าง ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพสัตว์และผู้บริโภค
  6. เป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงด้านพิษวิทยาและชีวเคมี   
  7. ให้คําปรึกษาทางด้านวิชาการ ฝึกอบรม และ ถ่ายทอดเทคโนโลยีในการตรวจวินิจฉัยและชันสูตร โรคสัตว์ด้านพิษวิทยาและชีวเคมี ให้กับเกษตรกร นักวิชาการ ทั้งในและต่างประเทศ
  8. ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงาน ของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

ห้องปฏิบัติการพิษวิทยาและชีวเคมีตรวจหาค่าทางชีวเคมีและแร่ธาตุจากตัวอย่างซีรั่มและพลาสมาเพื่อหาความผิดปกติของค่าต่าง ๆ เพื่อดูสภาวะการทำงาน
ของร่างกาย รับผิดชอบในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง 9 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร ตาก นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี

รายการตรวจวิเคราะห์ / วิธีตรวจวิเคราะห์

     

การตรวจ / โรค

วิธีการตรวจ

ชนิดตัวอย่าง

การเก็บรักษา

ปริมาณการตรวจ

ระยะเวลาในการทดสอบและตอบผล

1. แคลเซียม (Ca) Photometric test ซีรัม H-plasma แช่เย็น หรือแช่แข็ง (ส่งตรวจภายใน 24 ชั่วโมง) 30 ต.ย./วัน 2  วันทำการ
2. บิลิรูบิน (Total bilirubin) ซีรัม H-E plasma
3. ฟอสฟอรัส (K) Photometric 
UV test
ซีรัม
4. ยูเรีย (Urea) Fully enzymatic method ซีรัม  
Plasma1   Urine
5. แมกนีเซียม (Mg) Photometric colorimetric test ซีรัม  Plasma2
Urine
6. ครีเอทินิน (Creatinine)

ซีรัมH-plasma 

Urine

7. แอลบูมิน  (Albumin) ซีรัม H-E plasma
8. โปรตีนในเลือด (Serum total protein)
9. กลูโคส (Glucose) Enzymatic 
colorimetric test
ซีรัม Plasma
10. GOT Liquiq UV test ซีรัม H-E plasma
11. GPT

                           

   1  ห้ามใช้ Ammonium heparinate
   
2  ห้ามใช้ EDTA