Slide1

ถุงพลาสติกกับภาวะโลกร้อน

ความเกี่ยวโยงระหว่างการใช้ถุงพลาสติกกับโลกร้อนคือ ยิ่งมีการใช้ถุงพลาสติกมากเท่าไหร่ ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยสู่ชั้น

บรรยากาศโลก จากการเผาไหม้ในกิจกรรมการผลิต และเผาทำลายถุงพลาสติกก็จะยิ่งสูงมากขึ้น ตามมาด้วยปัญหามากมายจากมลพิษ

         ถุงพลาสติกมีผลทำให้เกิดภาวะโลกร้อน  ต้องใช้เวลาย่อยสลายถึง 450 ปี หากนำไปเผาก็จะทำให้เกิดสารประกอบไฮโดรคาร์บอน

ซึ่งทำให้เกิดมลภาวะทำให้โลกร้อน และการใช้ถุงผ้าจะช่วยลดการปนเปื้อนของสารก่อมะเร็ง และหากทุกคนหันมาใช้ถุงผ้าเพียงสัปดาห์ละ 1 วัน

จะช่วยลดการใช้ถุงพลาสติกได้มากกว่า 100 ล้านถุง/ปี ทั้งนี้ ปัจจุบัน (กันยายน 2550) กทม.ต้องเก็บขยะมากถึง 85,00 ตัน/วัน เป็นถุงพลาสติก

ถึงร้อยละ 21 หรือ 1,800 ตัน/วัน ดังนั้น หากเปลี่ยนมาใช้ถุงผ้าแทน จะช่วยลดค่าใช้จ่ายการเก็บขยะได้วันละ 1.78 ล้านบาท/วัน

หรือคิดเป็น 650 ล้านบาท/ปี

         ถึงเวลานี้ คงไม่มีใครปฏิเสธแล้วว่า ไม่รู้จักปรากฏการณ์สำคัญของโลกที่เรียกว่า ภาวะโลกร้อน (Global warming) ปีที่ผ่านมา

ภาคเหนือและภาคอีสานของประเทศไทยต้องเผชิญกับอากาศหนาวจัดกว่าหลายปีที่ผ่านมา ขณะที่ภาคกลางประสบกับปัญหาน้ำท่วมหนัก

อย่างที่ไม่เคยเจอมาก่อน ส่วนภาคใต้ก็เจอกับพายุที่รุนแรงขึ้น

         เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 คณะกรรมการนานาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ (IPCC) ซึ่งประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์

กว่า 2,500 คน จาก 130 ประเทศ ได้พบข้อสรุปอย่างชัดเจนแล้วว่า สาเหตุของปัญหาโลกร้อน นั้น ร้อยละ 90 มาจากการที่ มนุษย์เผาผลาญ

เชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งส่งผลให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศมากเกินไป จนความร้อนจากพื้นโลกไม่สามารถสะท้อนออกนอกโลกได้

ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศอย่างรุนแรงไปทั่วโลก

ความจริงเกี่ยวกับพลาสติก


• ถุงพลาสติกเป็นสิ่งประดิษฐ์สุดวิเศษ น้ำหนักเบา ในยุค 1960 ซึ่งพัฒนาขยายผลมาจากเซลลูลอยด์ ที่สังเคราะห์ขึ้นจากความต้องการหาวัสดุทดแทนงาช้าง
ในการผลิตลูกบิลเลียดในช่วงปี 1868

• ถุงพลาสติกเป็นของใช้ยอดนิยมของคนทั่วโลก ในปัจจุบันมียอดการใช้ 5 แสนล้านถึงล้านล้านใบ ต่อปี หรือเฉลี่ยทุก 1 นาที มีการใช้ถุงหิ้วอย่างน้อย 1 ล้านใบและจำนวน 5 แสนล้านใบนี้

ต้องใช้พลังงานการผลิตจากน้ำมันจำนวน 9 พันล้านลิตร เทียบให้ชัดเจนขึ้นคือ พลังงานที่ใช้ผลิตถุงพลาสติก 8.7 ใบ สามารถเปลี่ยนเป็นน้ำมันให้รถวิ่งได้ไกล 1 กิโลเมตร

• ถุงพลาสติกหูหิ้ว แม้จะเป็นชนิดที่นำไปรีไซเคิลได้ แต่ปัจจุบันมีการนำกลับไปรีไซเคิลน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนที่ผลิตออกไป มีผลการสำรวจพบว่าทุกตารางกิโลเมตรทั่วโลกจะมีขยะพลาสติก

ราว 46,000 ชิ้น ทุกปีผู้คนจับจ่ายซื้อของทั่วโลกใช้ถุงพลาสติก 10,000 ล้านใบต่อปี ซึ่งจะต้องใช้เวลาย่อยสลายนานกว่า 1,000 ปี

• ถุงพลาสติก 1.6 ล้านใบ นำไปเรัยงเป็นเส้นรอบวงโลกได้ 1 รอบ 

• ถุงพลาสติกที่คนไทยใช้ในหนึ่งปีนั้น ถ้าเอามาต่อกันจะได้เป็นระยะทางเท่ากับการเดินทางไปกลับดวงจันทร์ถึง 7 รอบเลยทีเดียว

    ถุงพลาสติกที่เราใช้รองรับสินค้าและอาหาร ผลิตจากเม็ดพลาสติกในอุตสาหกรรมปีโตรเคมีที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นวัตถุดิบ การผลิตถุงพลาสติกสามารถทำได้รวดเร็วในปริมาณมาก และด้วยต้นทุนที่ต่ำ

เมื่อนำมาใช้จะมีอายุการใช้งานที่สั้น และส่วนใหญ่เป็นการใช้งานเพียงครั้งเดียว โดยเฉพาะถุงขนาดเล็กและบาง ถุงที่ผ่านการใช้งานแล้วและถูกนำไปทิ้งเป็นภาระในการเก็บขนและจัดการเป็นอย่างมาก

เนื่องจากคุณลักษณะที่บางเบา และมีปริมาณมากที่ปะปนกับมูลฝอยประเภทอื่นๆ จะทำให้การย่อยสลายมูลฝอยเป็นไปได้ยากมากยิ่งขึ้น

ถุงพลาสติกมีผลทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ซึ่งถุงพลาสติก 1 ใบ ต้องใช้เวลาย่อยสลายประมาณเฉลี่ยถึง 450 ปี หากนำไปเผาก็จะทำให้เกิดสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ซึ่งทำให้เกิดมลภาวะทำให้โลกร้อน

และการใช้ถุงผ้าจะช่วยลดการปนเปื้อนของสารก่อมะเร็ง และหากทุกคนหันมาใช้ถุงผ้าเพียงสัปดาห์ละ 1 วัน จะช่วยลดการใช้ถุงพลาสติกได้มากกว่า 100 ล้านปี

ปัญหาจากการใช้ถุงพลาสติก
    ประโยชน์เพียงเล็กน้อยในช่วงเวลาสั้นๆ ของถุงพลาสติกได้ทำให้เกิดโทษต่อระบบนิเวศและชีวิตของผู้บริโภคต่อเนื่องกว้างขวางและยาวนาน ในแต่ละสัปดาห์คนไทยนำถุงพลาสติกกลับบ้านมากกว่า 100 ล้านถุง

หรือมากกว่า 5,000 ล้านถุงในแต่ละปี การนำถุงพลาสติกไปใช้ซ้ำอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนอย่างมาก โดยเฉพาะการใช้ถุงพลาสติกใส่ขยะมูลฝอย จะทำให้เกิดการแปรสภาพขยะมูลฝอยในภาวะที่ขาดอากาศ

เป็นผลให้เกิดก๊าซชีวภาพที่เป็นต้นเหตุของการเกิดภาวะเรือนกระจกและทำให้โลกร้อน

ถุงพลาสติกที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมได้ทำให้เกิดปัญหาที่สำคัญคือ 

    เป็นอันตรายต่อระบบนิเวศสิ่งมีชีวิตทั้งในน้ำและบนบกมีการรายงานถึงขยะปริมาณมหาศาลที่ลอยอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิค ที่ส่วนใหญ่เก้าสิบกว่าเปอร์เซ็นต์เป็นพลาสติก ทุก 1 ตารางไมล์ จะพบถุงพลาสติก 46,000 ใบ

ลอยอยู่ในมหาสมุทร ซึ่งส่งผลให้แต่ละปีมีนกทะเลตาย 1 ล้านตัว และมีสัตว์ทะเลอื่นๆ จำนวน 100,000 ตัว เช่น เต่าทะเล ปลาโลมา วาฬ เพนกวิน และปลาอีกนับไม่ถ้วน ต้องตายจากการกินพลาสติก เพราะคิดว่าเป็นอาหาร

รายงายของนักวิทยาศาสตร์พบเศษพลาสติกในสิ่งมีชีวิต เช่น หนอนทะเล แมงกระพรุน โดยเศษขยะพลาสติกจะพันตัวสัตว์ (เช่น เชือก แหและอวน เป็นต้น) เศษที่เล็กลงมาก็ถูกกินโดยสัตว์ทะเลและนกทะเลหรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ  

สัตว์เหล่านี้ไม่ตายเพราะพลาสตก แต่จะตายเพราะท้องจะเต็มกินอาหารไม่ได้อีก และขาดสารอาหารตาย  เมื่อกล่าวถึงพลาสติกแทบไม่มีทางย่อยสลายได้เลย เพียงแต่ว่าแตกตัวลงเป็นชิ้นพลาสติกที่เล็กกว่าเดิมเท่านั้น

และที่น่ากลัวก็คือ พลาสติกยิ่งเล็กก็ยิ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม

วิธีการลดถุงพลาสติก

คำตอบที่ดีที่สุด:  เราช่วยกัน ลด งด ใช้ถุงพลาสติกได้ โดยการ 
1. นำถุงผ้า หรือพาชนะไปใส่ของแทน แล้วก็พูดว่า "ไม่ต้องถุงก็ได้" ตัวอย่างเช่น จะไปตลาดก็เอากระเป๋าผ้าและกล่องใส่อาหารไปใส่ของแทน ไปซื้อกับข้าวก็เอาปิ่นโตไปแทน ไม่ต้องเอาถุงพลาสติกทุกชนิดนะจ๊ะ 

2. ใช้ถุงกระดาษ อย่างเมืองนอกเวลาเราดูหนัง เขาซื้อของกลับมาบ้านอุ้มถุงกระดาษเข้ามา ก็เพราะเขาไม่ต้องการใช้ถุงพลาสติกที่ย่อยสลายยากนั้นเอง ยังไงใช้ถุงกระดาษก็ยังดีกว่านะ อันนี้ก็ต้องขอความร่วมมือจากพ่อค้า

แม่ค้าและห้างใหญ่ๆด้วย

3. ใช้ถุงพลาสติกแบบย่อยสลายได้ ถุงแบบนี้ความจริงมีมานานแล้ว ถุงพลาสติกแบบนี้จะผสมสารย่อยสลาย ซึ่งก็จะแทรกตัวอยู่ในโมเลกุลของเม็ดพลาสติก สารย่อยสลายนี้เมื่อเจอกับแสดงแดดก็จะทำปฏิกิริยากับเม็ดพลาสติก

ให้โมเลกุลแตกสลายถุงแบบนี้จะใช้เวลา 1 ปีในการย่อยสลาย โดยจะเห็นได้ว่า ความเหนียวของถุง จะลดลงเรื่อยๆ จนไม่เหลือเลย 



ข้อดีของการใช้ถุงผ้า 
ถ้าคนเราใช้ถุงผ้าสัปดาห์ละ 1 วันจะช่วยลดการใช้ถุงพลาสติกได้มากกว่า 100 ล้านถุงต่อปี   
ข้อดีของการใช้ถุงผ้ามีดังนี้  
• ซักทำความสะอาดได้โดยง่าย 
• นุ่มสบายมือน่าใช้ และไม่ก่อให้เกิดการกดทับอย่างรุนแรงต่อฝ่ามือเท่าถุงพลาสติก 
• ใช้ง่ายขาดยาก ตกแต่งได้ตามสไตล์ที่ชอบ 
• ย่อยสลายได้ ไม่ตกค้างจนเป็นปัญหาในสิ่งแวดล้อม 
• ทนทานและใช้ซ้ำได้มากครั้งกว่าถุงพลาสติก
• ช่วยลดปริมาณมูลฝอย ไม่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก 
• ช่วยลดปัญหาโลกร้อน
• บ่งบอกภาวะรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของผู้ใช้  
• ใช้ถุงผ้าไปได้ทุกที่ ใส่ได้หลายอย่าง 
• ใช้เป็นสื่อรณรงค์เสริมสร้างความเข้าใจและความตระหนักในสิ่งแวดล้อมได้อย่างกว้างขวาง 
• ถุงผ้าดิบจะช่วยลดการเกิดและการปนเปื้อนของสารประกอบไดอ๊อกซินที่เป็นสารก่อมะเร็ง 
• พกพาติดตัวได้ง่าน และติดรถ พร้อมใช้งานในทุกโอกาส 
• ส่งเสริมการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
เริ่มใช้ถุงผ้าตั้งแต่วันนี้ และแบ่งปันถุงผ้าที่มีอยู่แก่ผู้อื่น เพื่อขยายวงกว้างของความพยายามลดก๊าซเรือนกระจกและภาวะโลกร้อน

Global Warming5

ที่มา https://sites.google.com/a/bumail.net/rnrkh-ld-chi-khya-laea-phawa-lok-rxn/phawa-lok-rxn-khux-xari