เว็บไซต์กรมปศุสัตว์เว็บไซต์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Follow us on Facebook Follow us on YouTube Follow us on Rss

A- A A+

 

ประวัติศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคเหนือตอนล่าง

vrd old1          

         นายสัตวแพทย์พรชัย  ชำนาญพูด  ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้รับผิดชอบการก่อสร้างศูนย์วิจัยและชันสูตรโรคสัตว์ภาคเหนือ (ตอนล่าง) ตามหนังสือที่ กษ ๐๖๑๕ / ๖๕๑ ลงวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๓๙  จึงมุ่งมั่นที่จะหาสถานที่ก่อสร้างที่มีทำเลเหมาะสม เป็นศูนย์กลางของพื้นที่รับผิดชอบทั้ง ๙ จังหวัด การคมนาคมสะดวก สาธารณูปโภคพื้นฐานดี และอยู่ห่างจากตัวเมืองไม่ควรเกิน ๑๐ กิโลเมตร ซึ่งมีพื้นที่หลายแห่งที่ไปสำรวจความเหมาะสมก่อนจะได้สถานที่ตั้งในปัจจุบัน ดังนี้

    ๑. พื้นที่สาธารณประโยชน์ของสภาตำบลมะขามสูง อ.เมือง จ.พิษณุโลก ซึ่งพบว่าอยู่ไกลเกินไปห่างจากตัวอำเภอเมืองประมาณ ๒๐ กิโลเมตร มีทำเลค่อนข้างปิดเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำมากน้ำท่วมขังเกือบทุกปี  และมีกระแสต่อต้านจากคนในพื้นที่บางส่วน

    ๒. พื้นที่ของสถานีพืชอาหารสัตว์สุโขทัยซึ่งพบว่าไม่ได้ตั้งอยู่ในเมืองหลักของพื้นที่รับผิดชอบและอยู่ห่างจากตัวเมืองมากเกินไป

    ๓. พื้นทีของสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์พิษณุโลก อ.นครไทย จ.พิษณุโลกซึ่งพบว่าอยู่ห่างไกลเกิน

    ๔. พื้นที่ของสถานีอาหารสัตว์เพชรบูรณ์  ซึ่งพบว่าอยู่ใกล้ตัวเมือง แต่เพชรบูรณ์เป็นเมืองรอยต่อของเขตเหนือและอีสานไม่ได้เป็นศูนย์กลางของพื้นที่รับผิดชอบ  

 

 oldre2  1 1re

 

ต่อมานายสัตวแพทย์พรชัย  ชำนาญพูด ได้สำรวจหาสถานที่ตั้งแห่งใหม่ที่เหมาะสม โดยตั้งเป้าหมายให้แคบลง “ศูนย์ฯ ต้องอยู่พิษณุโลก  ตั้งบนถนนสายหลักรัศมีไม่เกิน ๑๐ กม.” ซึ่งได้สำรวจพบพื้นที่ของ “ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก” เหมาะสมที่สุด  จึงได้เริ่มดำเนินการมานับแต่นั้น  โดยได้รับความช่วยเหลือเป็นอย่าง

 

ดีจาก หมอนิสิต  ตั้งตระการพงษ์  ปศุสัตว์จังหวัดสุโขทัยในขณะนั้น  ซึ่งเป็นผู้กว้างขวางในเมืองพิษณุโลก  ท่านผู้อำนวยการศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ผอ.สมบัติ  รุจาคม และท่านผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ ๒ ผอ.บุญโฮม  ชำนาญกุล  และได้สรุปเรื่องนำเสนอกรมปศุสัตว์เพื่อดำเนินการขอใช้พื้นที่  โดยได้รับการสนับสนุนจาก ท่านอธิบดีสุวิทย์  ผลลาภ  และ ท่านรองอธิบดีวิจิตร  สุขเพสน์  จนได้รับอนุญาตให้ใช้ที่ดินจากกรมวิชาการเกษตร ตามหนังสือกรมวิชาการเกษตรที่ กษ๐๙๑๔ / ๕๕๔๓ ลงวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๓๙ นับเป็นเวลา ๔ เดือน ๑๘ วัน 

 

     phornchai                vrd 3

 

หลังจากได้พื้นที่ก่อสร้างแล้วยังพบกับปัญหาอื่นๆ ตามมาอีกมาก  เนื่องจากเข้าสู่ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้การก่อสร้างไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของสัญญา  ตอกเสาเข็มวางฐานรากต้องค้างอยู่เกือบ ๑ ปี โดยไม่มีความก้าวหน้า จนมีความคิดจะขอยกเลิกสัญญา ปรับ และเปิดประมูลใหม่  แต่ท่านรองอธิบดียุคล  ลิ้มแหลมทอง (ตำแหน่งในขณะนั้น) และท่านปศุสัตว์เขตสิริวัทก์  สโรบล ได้ทักท้วงและเสนอแนะให้โอกาสผู้รับเหมาต่อไป  ตามมติของคณะรัฐมนตรีที่ออกมาช่วยเหลือผู้ประกอบการ  จึงมีเหตุผลในการขยายเวลาสัญญาจ้างถึง ๒ ครั้ง   แต่ในที่สุดการก่อสร้างก็เสร็จสิ้นลงอย่างทุลักทุเลล่าช้ากว่ากำหนดประมาณ ๑ ปี   มาแล้วเสร็จเมื่อ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๒  ใช้เวลาก่อสร้าง ๓ ปีเต็ม  ต่อมาก็พบปัญหาวิกฤตเรื่องบุคลากรอีก  เนื่องด้วยนโยบายจำกัดอัตรากำลังภาครัฐ และมีแนวโน้มจะลดลงอีก   จึงได้เสนอกรมฯ เพื่อดำเนินการจัดทำกรอบโครงสร้างบุคลากร  โดยมีการปรับเกลี่ยบุคลากรที่มีอยู่เดิม  ซึ่งกรมฯ ได้มอบหมายให้ท่านรองอธิบดีระพีพงศ์ วงศ์ดี (ตำแหน่งในขณะนั้น) เป็นประธานคณะทำงาน  และได้ดำเนินการมาจนสำเร็จลุล่วงโดยใช้เวลานานพอสมควร  ทำให้มีบุคลากรมาปฏิบัติงาน  และสามารถเปิดให้บริการแก่เกษตรกรได้

 

mixlab2 

         ห้องปฏิบัติการศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคเหนือตอนล่าง   เป็นห้องปฏิบัติการถาวรที่มีสถานะเป็นนิติบุคคล  ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๔๒ ตามกฤษฎีกา โดย โดยมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อ วันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๓ โดย ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายอาคม  เอ่งฉวน  และ ท่านรองอธิบดียุคล  ลิ้มแหลมทอง (ตำแหน่งในขณะนั้น)  ภายใต้ชื่อ “ศูนย์วิจัยและชันสูตรโรคสัตว์ภาคเหนือ (ตอนล่าง)” จากนั้นจึงเปลี่ยนชื่อเป็น “ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคเหนือตอนล่าง”   ตามกฎหมายปฏิรูประบบราชการพุทธศักราช ๒๕๔๕ จนถึงปัจจุบัน   โดยมี นายสัตวแพทย์พรชัย  ชำนาญพูด เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ ท่านแรก  และ สัตวแพทย์หญิง ดร.จันทร์เพ็ญ  ชำนาญพูด   และนายสัตวแพทย์นฤพล พร้อมขุนทด เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ ท่านปัจจุบัน   โดยมีสถานที่ตั้งอยู่ เลขที่ 9 หมู่ 15 บ้านศรีชนูทิศ ถนนพิษณุโลก - หล่มสัก ก.ม. ๑๒  ตำบลวังทอง  อำเภอวังทอง  จังหวัดพิษณุโลก   มีพื้นที่ประมาณ ๓๐ ไร่